Skip to content

หลังคาฉนวนกันความร้อน พีอี โฟม

          ฉนวนกันความร้อนพีอี (PE หรือ Polyethylene) มีลักษณะเป็นโฟมเหนียว แต่อ่อนนุ่ม และมีแผ่นฟอยล์บางๆ หุ้มเคลือบบนผิวโฟมอีกชั้นหนึ่ง โดยที่วัสดุโฟม จะมีคุณสมบัติต้านทานความร้อน ส่วน “แผ่นฟอยล์” จะสามารถช่วยสะท้อนความร้อน และปกป้องแผ่นโฟม ทางบริษัทสามารถผลิตขนาดความหนาได้ตั้งแต่ 5 มม. และ 10 มม. ขนาดที่นิยมใช้มากที่สุด คือ 5 มม.

          แผ่นฉนวนกันความร้อนพีอี ทำมาจาก โพลีเอทิลีน (Poly Ethylene) เป็นโพลิเมอร์ที่นำมาใช้งานมากที่สุด ราคาถูก จัดเป็นพวกพลาสติก จึงมีน้ำหนักเบา เหนียว และทนต่อแรงกระแทกได้ดี มีคุณสมบัติทนทาน ต่อการกัดกร่อน ต้านทานสารที่เป็นกรดแอลกฮอล์ จึงเหมาะสำหรับการใช้ในโรงงานเคมีที่มีไอระเหยของกรด (Acid Vapour) แผ่นฉนวนกันความร้อน (PE) จะช่วยปกป้องแผ่นเมทัลชีทจากอันตรายจากการกัดกร่อน และด้วยโครงสร้างของวัสดุเป็นแบบเซลล์ปิด (Closed Cell) จึงมีฟองอากาศขนาดเล็กกระจายเรียงตัวอย่างสม่ำเสมอ ทำให้โฟมไม่ถูกดูดซับความชื้น และสิ่งสำคัญแผ่นฉนวนกันความร้อน (PE) จะช่วยป้องการส่งผ่านความร้อน (Heat Transfer) จากภายนอกเข้าสู่ภายในอาคาร เเละป้องกันการสูญเสียความเย็น เพื่อไม่ให้ภายในอาคารได้รับความร้อนมากเกินไป ทำให้ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากการเปิดเครื่องปรับอากาศได้ ขณะเดียวกัน แผ่นฉนวนกันความร้อน (PE) ที่ติดมาใต้ท้องของแผ่นหลังคาเมทัลชีท จะช่วยลดเสียงที่เกิดจากฝนตกได้อีกด้วย

1.ฉนวนกันความร้อนพีอี ซีเจผลิต จากเม็ดพลาสติด Low Density Polyethylene (LDPE)
2.ฉนวนพีอีโฟม เคลือบ Metalized Film หนา 27 ไมครอน
3.โครงสร้างเซลล์ มีลักษณะเป็นฉนวนเซลล์ปิด 100% ทำให้การถ่ายเทอุณหภูมิหน่วงเวลาได้นานกว่าเนื้อฉนวนไม่ดูดซึมน้ำ อีกทั้งไม่สะสมความชื้น
4.ไม่ใช้สาร CFCs ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมีไม่อาบรังสีในการผลิต และเป็นกลางต่อสารเคมีทุกชนิด
5.มีความหนาแน่น 25 กก./ลบ.ม. ทำให้ป้องกันความร้อนได้ดีกว่าฉนวน PE ทั่วไป
6.มีน้ำหนักเบา และมีความยืดหยุ่นสูง เข้ารูปกับลอนหลังคาเมทัลชีทได้ดี ทำให้ติดแผ่นฉนวนได้เรียบสนิท ง่ายต่อการติดตั้ง
7.โครงสร้างฉนวนแข็งแรง ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต (UV) มีอายุการใช้งานยาวนาน คงความเป็นฉนวนถาวร ทำให้ไม่แตกกรอบ
8.ทนต่อการใช้งานที่อุณหภูมิ -80 ํC ถึง 80 ํC
9.มีค่าการนำความร้อนต่ำประมาณ 030 W/m.k. – 0.037 W/m.K โดยค่ายิ่งน้อย ยิ่งถือเป็นฉนวนที่ดี

ประโยชน์ฉนวนกันความร้อน พีอี โฟม (PE Foam)

1. แผ่นฉนวนกันความร้อนพีอีโฟม (PE FOAM) ใช้ติดตั้งเพื่อช่วยป้องกันความร้อนที่จะเข้าสู่ภายในอาคาร หรือที่พักอาศัย เนื่องจากความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรืออากาศจากภายนอกสามารถกระจายเข้าสู่ตัวอาคารได้ทุกทิศทาง ทำให้อุณหภูมิด้านในร้อน จนบางครั้งไม่สามารถอยู่ชั้นบนในเวลากลางวันได้

2. การติดฉนวนกันความร้อนพีอีโฟม (PE FOAM)จึงเป็นอีกหนึ่งทางในการช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ภายใน โดยเเผ่นฉนวนกันความร้อนพีอีโฟม (PE FOAM) จะติดอยู่ที่ด้านล่างของเเผ่นหลังคาเมทัลชีทด้วยวิธีการพ่นกาว ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมที่สุด สะดวก และทำได้ง่าย ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง โดยแผ่นฉนวนกันความร้อนจะถูกรีดให้เเนบสนิทไปกับแผ่นหลังคาเมทัลชีท

3. ฉนวนกันความร้อนพีอีโฟม (PE FOAM) จะช่วยให้หลังคา และฝ้าเพดานชั้นบนสุด ลดอุณหภูมิการถ่ายเทความร้อนลงสู่ภายในอาคาร ทำให้ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าจากการเปิดเครื่องปรับอากาศได้ ส่งผลให้อากาศภายในเย็นสบายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดเสียงฝนที่กระทบกับ เเผ่นเมทัลชีท ให้เบาลงได้อีกด้วย